มอง”น้ำ”เห็น”เมือง” เบื้องหลังน้ำท่วมใหญ่กทม.

ปริญญา ตรีน้อยใส

(ในอดีต เมื่อน้ำเหนือไหลบ่า น้ำทะเลหนุน คนกรุงต่างดีใจ แต่วันนี้”น้ำเหนือ”และ”น้ำทะเลหนุน”กลายเป็นความทุกข์ใหญ่ของคนเมืองกรุง   ปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ล้วนมี”ที่มา” 
“ปริญญา  ตรีน้อยใส”ดัดแปลงบทความวิชาการที่เคยเสนอในการประชุมที่ต่างประเทศมาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้  เขานำ”ประวัติศาสตร์”ของกรุงเทพมหานครมาเชื่อมโยงกับมุมมองด้านสถาปัตย์ ในฐานะคณบดีคณะสถาปัตยกรรม แล้วจะเข้าใจว่าทำไม”ความดีใจ”ในอดีต
จึงกลายเป็น”ความทุกข์”ในปัจจุบัน.....    )
                                   

      ทันทีที่บ้านเราเข้าสู่ฤดูมรสุม   น้ำฝนที่ตกลงมาบนผืนแผ่นดินไทย จะมีปริมาณ
เกินกว่าพื้นดินบนดอยดูดซับไว้ จึงไหลหลากตามทางน้ำ เอ่อล้นท่วมหมู่บ้านในที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา ผ่านมาสู่ชุมชนสองฝั่งทางน้ำสายต่างๆ จนถึงที่ราบลุ่มในภูมิภาคต่างๆของประเทศ ก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย
       สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จังหวะที่น้ำเหนือหลากไหลบ่าตามแม่น้ำสายหลัก   หากประจวบเหมาะกับปริมาณน้ำฝนตกลงในพื้นที่มาก และระดับน้ำทะเลขึ้นสูงน้ำเค็มจะไหลย้อนขึ้นมาสมทบ  
        กรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยที่อยู่ไม่ห่างจากปากแม่น้ำจะกลายสภาพเป็นเมืองบาดาลทันที ส่งผลให้การจราจรติดขัด ธุรกิจการค้าหยุดชะงัก และการอยู่อาศัยยากลำบาก  
       “น้ำท่วม”จึงเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายต่อเนื่องตลอดมา
       งานวิจัยของทิวา ศุภจรรยา ที่อาศัยหลักฐานเมืองโบราณในสมัยทวาราวดี อย่างเช่น นครนายก อู่ตะเภา ลพบุรี สุพรรณบุรี อู่ทอง นครปฐม คูบัว เป็นต้น   สรุปไว้ว่า แนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยนั้น   เดิมอยู่ห่างจากแนวปัจจุบันขึ้นไปทางเหนือไกลถึง 140 กม.นั่นหมายความว่า พื้นที่ตั้งของกรุงเทพมหานครเคยอยู่ใต้น้ำมาก่อน
        น้ำหลากจะนำดินตะกอนที่อุดมสมบูรณ์จากป่าเขาภาคเหนือ มาทับถมเป็นเวลาหลายร้อยปี   ระดับดินค่อยๆ สูงขึ้น กลายสภาพเป็นทะเลตม หรือที่ราบอันเกิดจากโคลนตะกอนที่สายน้ำพัดมา   เมื่อรวมกับปริมาณน้ำฝนที่พอเหมาะ ก็จะเป็นพื้นที่เหมาะกับการเกษตรยิ่งนัก  ผู้คนพากันมาตั้งถิ่นฐานหาเลี้ยงชีพ กลายเป็นชุมชนและเมือง
        ในเวลาต่อมา   โดยเฉพาะพื้นที่สองฟากฝั่งแม่น้ำหลักสี่สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน ที่เป็นแหล่งรวมน้ำ ที่หลากมาจากทางภาคเหนือของประเทศ   ส่วนแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำแม่กลอง จะเป็นน้ำที่หลากมาจากเทือกเขาทางด้านตะวันออกและตะวันตก ตามลำดับ
ตามสภาพธรรมชาติ พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีระดับสูงกว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออกเล็กน้อย   เป็นเหตุให้ฝั่งตะวันตกมีสภาพเหมาะแก่การเพาะปลูกประเภทพืชสวน   และเป็นที่มาของการเรียกขานว่า บาง เช่น บางกอก บางบำหรุ บางบัวทองบางมด บางแวก บางปะกอก เป็นต้น  
         ส่วนฝั่งตะวันออกที่มีระดับต่ำกว่า มีสภาพเป็นทุ่ง เหมาะแก่การทำนา เช่น ทุ่งแสนแสบ ทุ่งวัวลำพอง ทุ่งพญาไท ทุ่งสามเสน ทุ่งมักกะสันทุ่งรังสิต ทุ่งดงละคร เป็นต้น    บางพื้นที่จะมีน้ำท่วมขังเป็นประจำ เป็นหนองบึง เช่น หนองจอก บึงกุ่ม เป็นต้น   หรือเป็นที่ลาด(ลุ่ม) เช่น ลาดพร้าว ลาดกระบัง ลาดหลุมแก้ว ลาดยาว ลาดปลาเค้า เป็นต้น
         ในช่วงฤดูฝน น้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ จะไหลไปตามสภาพพื้นที่ เกิดเป็นทางน้ำขนาดเล็กมากมาย กระจายทั่วพื้นที่   ก่อนจะไหลรวมลงบาง ทุ่ง หนอง หรือคู คลอง สู่แม่น้ำสายหลักทั้งสี่สาย ก่อนที่จะไหลลงสู่อ่าวไทย   ท้องร่องและคูคลองที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบทั่วทั้งพื้นที่นั้น เป็นที่มาของรูปสัณฐานของกรุงเทพ ที่พัฒนาต่อเนื่อง จนกลายเป็นมหานครในปัจจุบัน
แม่น้ำเจ้าพระยาที่คดเคี้ยวอ้อมไปมานั้น มาจากสภาพพื้นที่ราบริมอ่าวไทย   จึงมีการขุดเชื่อมต่อเป็นคลองลัด เพื่อย่นระยะเดินทาง   ดังที่เคยมีบันทึกไว้ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีของสยามประเทศนั้น มีการขุดคลองลัด
          แม่น้ำเจ้าพระยาหลายแห่ง เช่น คลองลัดบางกอกใหญ่ ทำให้แนวแม่น้ำเดิมกลายเป็นคลองบางกอกน้อย และคลองบางกอกใหญ่ ในปัจจุบัน
หรือกรณีคลองลัดนครเขื่อนขัณฑ์ ตรงบริเวณบางกระเจ้า ก็เคยขุดมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ต้องยกเลิกไป   ด้วยเกิดผลเสียหายจากน้ำทะเลหนุนขึ้น สร้างความเสียหายให้กับสวนผลไม้ จนในรัชสมัยปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้รื้อฟื้น คลองลัดโพธิ์ ขึ้นมาใหม่   โดยติดตั้งประตูน้ำ เพื่อรักษาระดับน้ำ และป้องกันการไหลย้อนของน้ำทะเลในฤดูแล้ง   และเพื่อระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเลได้ในฤดูมรสุม
แม่น้ำหลักสี่สาย คือ เจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง และแม่กลอง   ยังเป็นโครงข่ายคมนาคมขนส่งสำคัญในอดีต   ชาวบ้านใช้เป็นทางสัญจรติดต่อระหว่างชุมชนที่อยู่ริมน้ำ   ร่วมกับทางน้ำธรรมชาติที่เดิมเคยคดเคี้ยว แต่เปลี่ยนสภาพไป เมื่อมีผู้คนใช้สัญจรผ่านไปมาอยู่เสมอ อย่างเช่น คลองช่องนนทรี คลองสามเสน คลองลาดพร้าว เป็นต้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองม่วง ยินดีต้อนรับ

นายสุรพล อ่ำจำปา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองม่วง

คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้

สถิติผู้เข้าชม

คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้

ข่าวไทยรัฐ

ผู้ติดตาม

คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้