พระปิยะมหาราช

พระราชประวัติ และพระราชกรณีกิจ



        พระบาท สมเด็จ พระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรม ราชจักรีวงศ์ พระนามเดิมว่า สมเด็จ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ฯ เป็น พระราชโอรส ในพระบาท สมเด็จ พระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว และ สมเด็จ พระเทพ ศิรินทรา บรมราชินี พระราช สมภพ เมื่อ วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ มีพระขนิษฐา และ พระอนุชา ร่วมสมเด็จ พระบรมราชนี ๓ พระองค์ คือ
          ๑. สมเด็จ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทร มณฑล โสภณภควดี กรมหลวง วิสุทธิกษัตริย์
          ๒. สมเด็จ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์ รัศมี กรมพระจักร พรรดิพงศ์ ต้นราชสกุล จักรพันธุ์
          ๓. จอมพล สมเด็จ พระราช ปิตุลาบรม พงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณ ุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา ภาณุพันธุวงศ์ วรเดช ต้นราชสกุล ภาณุพันธุ์

           เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์ ทรงศึกษา ในสำนัก พระเจ้า บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า บุตรี กรมหลวง วรเสรฐสุดา พระราชธิดา ใน พระบาท สมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นขัตติย ราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ ด้านอักษรศาสตร์และ โบราณ ราชประเพณี อย่างดียิ่ง นอกจากนั้น ทรงศึกษาภาษามคธ กับ พระยาปริยัติ ธรรมธาดา (เนียม) เมื่อเป็นหลวง ราชาภิรมย์ กรมราชบัณฑิต ทรงศึกษา วิชาการยิง ปืนไฟ จากสำนัก พระยา อภัยศรเพลิง(ศรี) วิชา คชกรรม กับ สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า มหามาลา กรมพระยา บำราบปรปักษ์ และ วิชาการอื่น ๆ อันสมควร แก่บรมราชกุมาร ส่วนภาษาอังกฤษ ทรงศึกษา จากชาวต่าง ประเทศ โดยตรง คือ นางแอนนา เลียวโนเวนส์ หมอจันดเล และ นายแปตเตอร์สัน จนกระทั่ง มีพระราชกิจมากขึ้น ไม่อาจศึกษา กับ พระอาจารย์ได้ ก็ได้ทรงพระอุตสาหะ ศึกษาด้วย พระองค์เอง จนทรงมี ความรู้ ภาษาอังกฤษ แตกฉาน ส่วนในด้านวิชาการ รัฐศาสตร์ ราชประเพณี และ โบราณคดีนั่น สมเด็จ พระบรม ชนกนาถ เป็นผู้พระราชทาน การฝึกสอน ตลอดมา
          ปีพุทธศักราช ๒๔๐๔ ทรงได้รับ การสถาปนา เป็นกรมหมื่น พิฆเณศวร สุรลังกาศ แล้วทรงผนวช เป็นสามเณช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๙ หลังจาก ลาผนวชแล้ว ประทับ ณ พระตำหนัก สวนกุหลาบ ในพระบรม มหาราชวัง ระหว่างนี้ สมเด็จพระบรม ชนกนาถ ทรงกวดขันดูแล ในเรื่อง ราชการแผ่นดินมากขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้เฝ้าปฏิบัติ ประจำพระองค์ นอกเหนือ จากเวลาเฝ้า ตามปรกติ เพื่อทรง รับฟังพระบรม ราโชวาท และ พระบรม ราชาธิบาย ในเรื่อง ราชการ และราชประเพณี ต่าง ๆ อยู่เสมอ ต่อมาปี พุทธศักราช ๒๔๑๐ เมื่อเลื่อน พระอิสริยยศ เป็น กรมขุน และ เปลี่ยนพระนามกรม เป็นกรมขุนพินิต ประชานาถแล้ว ทรงรับ หน้าที่ ในการบังคับ บัญชากรม มหาดเล็ก กรมทหารบก วังหน้า กรมล้อม พระราชวัง และ กรมพระคลัง มหาสมบัติ
          หลังจาก พระบาท สมเด็จ พระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว สวรรคต เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ ที่ประชุม เสนาบดี และ พระบรม วงศานุวงศ์ พร้อมใจกัน อัญเชิญ สมเด็จ เจ้าฟ้าชาย จุฬาลงกรณ์ฯ ขึ้นเถลิงถวัลย ราชสมบัติ มีพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ แต่เนื่องจาก ขณะนั้น พระองค์ ยังไม่บรรลุ พระราช นิติภาวะ สมเด็จ เจ้าพระยา มหาศรี สุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขณะนั้น มีบรรดาศักดิ์ เป็นเจ้าพระยา ศรีสุรยวงศ์ จึงรับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดิน จนกระทั่ง ทรงบรรลุ พระราช นิติภาวะแล้ว ทรงผนวช เป็นพระภิกษุ เป็นเวลา ๒ สัปดาห์ แล้วจึงมีพิธีบรมราชา ภิเษก อีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ และ นับจากนั้น มาก็ ทรงพระราช อำนาจเด็ดขาด ในการบริหารราชการ แผ่นดิน ซึ่งตลอด รัชสมัยของพระองค์ได้ ทรงบำเพ็ญ พระราช กรณียกิจ ต่าง ๆ อันก่อให้เกิด คุณประโยชน์ แก่ประเทศชาติ อย่างอเนกอนันต์ ทรงเป็น พระมหา กษัตริย์ ที่เปี่ยม ด้วยความสุขุม คัมภีรภาพ ทรงนำ ประเทศชาติ ให้รอดพ้น วิกฤตการณ์ และ สามารถธำรง เอกราชไว้ได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองม่วง ยินดีต้อนรับ

นายสุรพล อ่ำจำปา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองม่วง

คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้

สถิติผู้เข้าชม

คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้

ข่าวไทยรัฐ

ผู้ติดตาม

คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้